เรื่องที่เด็กม.ปลายต้องรู้ ระบบ TCAS คืออะไร

เรื่องที่เด็กม.ปลายต้องรู้ ระบบ TCAS คืออะไร

26 ม.ค. 2567
TCAS

        นาทีนี้เด็กม.ปลายที่ใกล้เรียนจบ ไม่มีใครไม่รู้จักระบบการสอบแบบ TCAS ซึ่งมีจัดให้สอบทุกปี เพื่อเก็บคะแนนไปยื่นเข้ามหาวิทยาลัยที่อยากเรียน แน่นอนว่า การแข่งขันค่อนข้างสูงมากในแต่ละปี ถ้าไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับการสอบ หรือ ไม่รู้ภาพรวมทั้งหมดของระบบ TCAS ก็อาจทำให้ยื่นคะแนนไม่ทันได้ ดังนั้น เรามาดูกันว่า ระบบ TCAS คืออะไร และมีการสอบยังไงบ้าง


รู้จักระบบ TCAS คืออะไร

        ระบบ TCAS หรือชื่อเต็ม Thai University Center Admission System เป็นระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยของประเทศไทย ซึ่งดำเนินการโดย ทปอ. หรือ ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย หลายคนอาจสงสัยว่า มันคือระบบ Entranceหรือ Admission ที่เราคุ้นเคยกันหรือเปล่านะ แต่จริงๆ ไม่ใช่ทั้งสองแบบ เพราะมันมีข้อแตกต่างกันพอสมควร เพราะ TCAS จะเป็นระบบใหญ่ ที่รวมการสอบเข้ามหาวิทยาลัยทุกรูปแบบเข้าไว้ด้วยกัน ให้เป็นศูนย์กลางหลัก ในการรวมคะแนนเข้าสู่การรับนักศึกษาของแต่ละมหาวิทยาลัยตามผลคะแนนที่นักเรียนทำได้

        ความแตกต่างที่เห็นชัดเจนง่ายๆ คือ ระบบ Entranceจัดสอบครั้งเดียวทั่วประเทศ ยุคหลังเปลี่ยนเป็นสอบสองครั้ง เลือกได้ 4 อันดับมหาวิทยาลัย แต่ถ้าพลาดแล้วพลาดเลย ต้องไปมหาวิทยาลัยเปิดแทน ยุคต่อมา ระบบ Admission จัดสอบหลายวิชาซ้อนกัน ทั้ง O-Net A-Net แล้วมาเป็น GAT PAT นักเรียนวิ่งรอกสอบ และกันที่กันเองได้ ส่วนระบบใหม่ล่าสุด TCAS  แก้ปัญหาการวิ่งรอกสอบ และรายวิชาไม่ซ้ำซ้อน 1 คน มีเพียง 1 สิทธิ์ เท่าเทียมกัน และมีโอกาสในการยื่นคะแนนกับทางเลือกที่หลากหลายขึ้น

undefined



TCAS แต่ละรอบมีอะไรบ้าง

        สำหรับรอบของการสมัครคัดเลือกเข้าศึกษาต่อโดยระบบ TCAS จะแบ่งออกเป็น 4 รอบ เพื่อให้น้องๆ มีทางเลือก และมีเวลาเตรียมตัว ที่จะได้เข้ามหาวิทยาลัยที่ชอบได้ ดังนี้

1.  รอบ Portfolio รอบนี้จะเน้นคนที่มีความสามารถโดดเด่น มีผลงานเฉพาะตัว โดยใช้แฟ้มผลงาน ไม่ต้องสอบวัดความรู้เชิงวิชาการ หรือ สอบปฏิบัติ บางมหาวิทยาลัย อาจจะขอคะแนนวัดความถนัด ของ TGAT TPAT และคะแนน GPAX ร่วมด้วย แต่บอกเลยว่ารอบนี้ ถ้าใครมีความสามารถพิเศษจริง และทุ่มเททำพอร์ตได้ปังๆ เค้าเน้นไปที่ดูผลงานและสอบสัมภาษณ์เป็นหลัก ทำได้ดี กรรมการว้าว น้องมีสิทธิ์สอบติดมหาลัยตั้งแต่รอบนี้สูงมาก

2. รอบ QUOTA รอบโควตา เป็นอีกรอบที่น่าสนใจ และมีโควตาเดินเข้ามหาลัยได้สวยๆ เพราะรอบนี้ จะเน้นคนในพื้นที่ คุณสมบัติเฉพาะ หรือเครือข่ายความร่วมมือ โดยจะใช้คะแนนสอบส่วนกลาง TGAT TPAT A-Level และคะแนน GPAX หรือคะแนนสอบที่มหาวิทยาลัยจัดสอบเอง ซึ่งแต่ละมหาลัยจะประมวลผลแยก สำหรับรอบโควตา จำนวนที่รับจะจำกัดหน่อย อยู่ที่เงื่อนไขว่า มหาวิทยาลัยนั้นรับโครงการอะไร

3. รอบ Admission เน้นกลุ่มทั่วไป รอบนี้จะรับคนเข้าศึกษาต่อเยอะมากที่สุด ใครพลาด 2 รอบแรก เตรียมยื่นคะแนนเฉลี่ยที่รอบนี้เลย โดยใช้คะแนน สอบส่วนกลาง TGAT TPAT  A-Level และคะแนน GPAXหรือคะแนนสอบที่มหาวิทยาลัยจัดสอบเอง ประมวลผลร่วมกันในระบบกลาง ซึ่งก่อนที่น้องๆ จะเลือกคณะ มหาวิทยาลัยที่อยากเรียนต่อ ให้น้อง ๆ ศึกษาสัดส่วน เกณฑ์คะแนนสูง ต่ำ ที่รับเข้าในแต่ละปีก่อน เพื่อประเมินคะแนนตัวเองได้ว่า คะแนนจะถึงมหาวิทยาลัยที่เลือกไป

4. รอบ Direct Admission หรือที่เรียกง่ายๆ ว่า รอบเก็บตกนั่นเอง เหมาะสำหรับคนที่สอบแล้ว ยื่นแล้วยังไม่มีที่เรียน สามารถมายื่นสมัครรอบนี้ได้อีก ซึ่งจะเป็นรอบที่มหาวิทยาลัยกำหนดเกณฑ์คัดเลือกได้อย่างอิสระ เพราะบางมหาวิทยาลัย เด็กอาจจะยังไม่ครบจำนวน จึงมีเปิดเพิ่ม ต้องลองเข้าไปตามข่าวสารการเปิดรับของมหาวิทยาลัยหลังรอบ Admission

undefined


TCAS ต้องสอบอะไรบ้าง

        มาถึงเรื่องที่น้องๆ จำเป็นต้องรู้เลย ว่า TCAS ต้องสอบอะไรบ้าง ซึ่งหลักๆ จะมีข้อสอบ 3 ข้อสอบใหญ่ แบ่งได้ ดังนี้

1. ความถนัดทั่วไป หรือ TGAT  โดยจะแบ่งการสอบออกเป็น 3 ส่วน คือ

  • TGAT1 การสื่อสารภาษาอังกฤษ (English Communication) 60 ข้อ
  • TGAT2 การคิดอย่างมีเหตุผล (Critical & Logical Thinking)80 ข้อ
  • TGET3 สมรรถนะการทำงาน (Working Competencies) 60 ข้อ

2. วัดความถนัดทางวิชาชีพ หรือ TPAT  โดยจะแบ่งการสอบออกเป็น 5 ความถนัด คือ

  • TPAT1 ความถนัดแพทย์ (กสพท.)
  • TPAT2 ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์
  • TPAT3 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์
  • TPAT4 ความถนัดทางงสถาปัตยกรรม
  • TPAT5 ความถนัดทางครุศาสตร์-ศึกษาศาสตร์

3. วัดความรู้ประยุกต์ หรือ A-Level  โดยจะแบ่งการสอบออกเป็น 9 วิชา คือ

คณิตศาสตร์ประยุกต์ ข้อสอบแบ่งเป็น 2 แบบ (สอบได้ทั้ง 2 แบบ) 

  • Math1 : คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 
  • Math2 : คณิตศาสตร์ประยุกต์ 2 
  • Science : วิทยาศาสตร์ประยุกต์
  • Physics : ฟิสิกส์
  • Chemistry : เคมี
  • Biology : ชีววิทยา
  • Social : สังคมศึกษา
  • Thai : ภาษาไทย
  • English : ภาษาอังกฤษ

ภาษาต่างประเทศอื่น ๆ (เลือกสอบได้ 1 ภาษา)

  • French:ภาษาฝรั่งเศส
  • Germany:ภาษาเยอรมัน
  • Japan:ภาษาญี่ปุ่น
  • Korea:ภาษาเกาหลี
  • China:ภาษาจีน 
  • Bali:ภาษาบาลี
  • Spain:ภาษาสเปน


การสอบ TCAS แต่ละประเภท มีช่วงไหนบ้าง

        มาถึงช่วงเวลาที่น้องๆ จะต้องเตรียมตัวกันแล้ว สำหรับการสอบ TCAS ในแต่ละปีนั้น จะกำหนดช่วงเวลาที่ชัดเจนล่วงหน้า เพื่อให้น้องๆ มีเวลาที่จะเตรียมสู่การสอบให้พร้อม สำหรับ TCAS ปี 67 ไทม์ไลน์จะเป็นตามนี้เลย

undefined

        เอาล่ะ ใครทันรอบไหน ไม่ทันรอบไหนกันบ้าง ไม่ต้องกังวลไปนะ ยังไงก็ยังมีรอบที่น้องๆ สามารถสมัครได้ทันอยู่ หรือทางเลือกมหาวิทยาลัยอีกมาก ที่จะทำให้น้องๆ ได้เรียนคณะที่ชอบ สำหรับเว็บของ TCAS เพื่อศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม ดูได้ที่ https://www.mytcas.com/

        อยากอัพเดทข่าวสารวงการการศึกษา  และมองหามหาวิทยาลัยที่ใช่ มาดูที่ Edugo เลย!

#

ข่าวสารอื่นๆ

ออกแล้ว! เกณฑ์รับนักศึกษาแพทย์รามาธิบดีรอบ TCAS1 Portfolio ปีการศึกษา 2568 Free Plan

ออกแล้ว! เกณฑ์รับนักศึกษาแพทย์รามาธิบดีรอบ TCAS1 Portfolio ปีการศึกษา 2568

21 มิ.ย. 2567
RealisticInvestigativeSocialEnterprising TCAS

เกณฑ์รับนักศึกษาแพทย์รามาธิบดีรอบ TCAS1 Portfolio ปีการศึกษา 2568

ประกาศ“ทุนโครงการ สควค.” หรือ “ทุนโครงการส่งเสริมการผลิตครูที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์” ประจำปีการศึกษา 2566 Free Plan

ประกาศ“ทุนโครงการ สควค.” หรือ “ทุนโครงการส่งเสริมการผลิตครูที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์” ประจำปีการศึกษา 2566

25 ต.ค. 2566
All TCAS

สสวท. ร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของรัฐ 10 แห่ง เตรียมพร้อมรับสมัครคัดเลือก “ทุนโครงการ สควค.” หรือ “ทุนโครงการส่งเสริมการผลิตครูที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์” ประจำปีการศึกษา 2566

สมัครรอบPortfolio (TCAS 1) Free Plan

สมัครรอบPortfolio (TCAS 1)

3 ก.ย. 2567
All TCAS

ช่วงเดือนกันยายนเป็นต้นไป มหาวิทยาลัยต่างๆจะทยอยเปิดรับสมัครนักเรียนในรอบแฟ้มสะสมงาน

คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัด Open House Free Plan

คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัด Open House

12 ก.ย. 2566
ArtisticSocialConventional TCAS

พบกันในงาน MULA OPEN HOUSE 2023 โดย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล