ความฝันที่น้อง ๆ อยากเข้าเรียนมหาวิทยาลัยในฝัน แม้มันจะเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการ และอยากประสบความสำเร็จ มันก็ต้องขึ้นอยู่กับความมุ่งมั่นตั้งใจของน้อง ๆ ด้วย เพราะการสอบในสมัยนี้ ต้องใช้ชุดคะแนนยื่นเยอะมาก อีกหนึ่งชุดคะแนนสำคัญ ที่ขาดไม่ได้ในระบบ TCAS นั่นก็คือ การสอบ TGAT สำหรับ น้องๆ ม.ปลาย คงรู้กันอยู่แล้ว ว่า TGAT ย่อมาจาก Thai General Aptitude Test เป็นการทดสอบวัดความสามารถทั่วไปที่จำเป็นสำหรับการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา แต่เรามาดูกันดีกว่า ว่า ข้อสอบ TGAT มีโครงสร้างอย่างไรบ้างนะ มาดูกันด่วนๆ ก่อนเตรียมสอบ
โครงสร้างข้อสอบ TGAT มีอะไรบ้าง
โครงสร้างข้อสอบ TGAT แบ่งออกเป็น 3 พาร์ท
พาร์ทที่ 1 : TGAT1 91 การสื่อสารภาษาอังกฤษ (100 คะแนน)
ทักษะการพูด (Speaking Skill) (50 คะแนน)
1) การถาม–ตอบ (Question-Response) จำนวนข้อคำถาม (10 ข้อ)
ระดับข้อสอบ (ง่าย 2 ข้อ / กลาง 6 ข้อ / ยาก 2 ข้อ)
2) เติมบทสนทนาแบบสั้น (Short conversations) จำนวน 3 บทสนทนา จำนวนข้อคำถาม (3 – 4 ข้อ/บทสนทนา รวม 10 ข้อ)
ระดับข้อสอบ (ง่าย 2 ข้อ / กลาง 6 ข้อ / ยาก 2 ข้อ)
3) เติมบทสนทนาแบบยาว (Long conversations) จำนวน 2 บทสนทนา จำนวนข้อคำถาม (5 ข้อ/บทสนทนา รวม 10 ข้อ)
ระดับข้อสอบ (ง่าย 2 ข้อ / กลาง 6 ข้อ / ยาก 2 ข้อ)
ทักษะการอ่าน (Reading Skill) (50 คะแนน)
1) เติมข้อความในเนื้อเรื่องให้สมบูรณ์ (Text completion) จำนวน 2 บทความ จำนวนข้อคำถาม (7-8 ข้อ/บทความ รวม 15 ข้อ)
ระดับข้อสอบ (ง่าย 3 ข้อ / กลาง 9 ข้อ / ยาก 3 ข้อ)
2) อ่านเพื่อจับใจความ (Reading comprehension) จำนวน 3 บทความ จำนวนข้อคำถาม (5 ข้อ/บทความ รวม 15 ข้อ)
ระดับข้อสอบ (ง่าย 3 ข้อ / กลาง 9 ข้อ / ยาก 3 ข้อ)
พาร์ทที่ 2: TGAT2 92 การคิดอย่างมีเหตุผล (100 คะแนน)
สมรรถนะการคิดอย่างมีเหตุผล (Critical & Logical Thinking)
1) ความสามารถทางภาษา
2) ความสามารถทางตัวเลข
3) ความสามารถทางมิติสัมพันธ์
4) ความสามารถทางเหตุผล
พาร์ทที่ 3: TGAT3 93 สมรรถนะการทำงาน 100 คะแนน
1. การสร้างคุณค่าและนวัตกรรม
- การคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical thinking) ความเข้าใจในการกำหนดวิธีการรวบรวมประเด็น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น รวมทั้งมีหลักการในการสรุปผลการวิเคราะห์และแยกแยะข้อมูลที่ได้รับออกเป็นปัจจัยย่อย ๆ เช่น สาเหตุ ผลลัพธ์ ผลกระทบ ข้อเสนอแนะ และผู้ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
- การแก้ไขปัญหาอย่างมืออาชีพ (Professional problem solving) ความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหาหรือเล็งปัญหา พร้อมทั้งลงมือจัดการกับปัญหานั้น ๆ อย่างมี ข้อมูล มีหลักการ และสามารถนำความเชี่ยวชาญ หรือแนวคิดในสายวิชาชีพมาประยุกต์ใช้ในการ แก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ความคิดเชิงนวัตกรรม (Innovative thinking) การนำเสนอความคิดสร้างสรรค์ทางเลือก สินค้าและบริการรูปแบบใหม่ พร้อมทั้งการปรับเปลี่ยน กลยุทธ์ นโยบาย และรูปแบบการดำเนินงานให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม รวมถึงการพูดจูงใจผู้อื่น นำเสนอความคิดและรูปแบบของสินค้า บริการ และวิธีการดำเนินงานรูปแบบใหม่
2. การแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน
- การระบุปัญหา (Identifying problems) ประกอบด้วย ทำความเข้าใจบริบทแวดล้อม การระบุและทำความเข้าใจปัญหา การมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องในการระบุปัญหา
- การแสวงหาทางออก (Generating and selecting solutions) ประกอบด้วย การสร้างและหาทางเลือก และการประเมินทางเลือกที่เหมาะสม
- การนำทางออกไปแก้ปัญหา (Implementation) ประกอบด้วย การปฏิบัติตามแผน และการปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม
- การประเมินทางออกเพื่อการพัฒนาปรับปรุง (Evaluation) ประกอบด้วย เก็บข้อมูลจากการนำทางออกไปลองใช้ และสรุปผลจากการนำทางออกไปลองใช้
3. การบริหารจัดการอารมณ์
- ความตระหนักรู้ตนเอง (Self-awareness) การรับรู้ ควบคุมสภาพอารมณ์ และทัศนคติ เพื่อรักษาอารมณ์ และประสิทธิภาพของตนเอง แม้ในสถานการณ์ที่ตึงเครียดหรือมีภาระสูง มีความตระหนักถึงจุดแข็งของตนเอง รวมถึงจุดที่ต้องพัฒนา โดยมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
- การควบคุมอารมณ์และบุคลิกภาพ (Personality and emotional control) ความสามารถในการแสดงออก ทางสีหน้า ท่าทาง และอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม เมื่อต้องเผชิญกับบุคคล ลักษณะงาน และสถานการณ์ที่ตึงเครียด รวมถึงการให้คำปรึกษา แนะนำและสอนผู้อื่น ให้ควบคุมอารมณ์และบุคคลิภาพได้อย่างเหมาะสม
- ความเข้าใจผู้อื่น (Interpersonal understanding) ความเข้าใจความต้องการ ความกังวล และความรู้สึกของผู้อื่น ทั้งสิ่งที่แสดงออกและไม่แสดงออก และความสามารถในการตอบสนอง และให้ความช่วยเหลือได้อย่างเหมาะสม และเท่าเทียมกัน
- การควบคุมอารมณ์และบุคลิกภาพ (Personality and emotional control) ความสามารถในการแสดงออก ทางสีหน้า ท่าทาง และอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม เมื่อต้องเผชิญกับบุคคล ลักษณะงาน และสถานการณ์ที่ตึงเครียด รวมถึงการให้คำปรึกษา แนะนำและสอนผู้อื่น ให้ควบคุมอารมณ์และบุคคลิภาพได้อย่างเหมาะสม
- ความเข้าใจผู้อื่น (Interpersonal understanding) ความเข้าใจความต้องการ ความกังวล และความรู้สึกของผู้อื่น ทั้งสิ่งที่แสดงออกและไม่แสดงออก และความสามารถในการตอบสนอง และให้ความช่วยเหลือได้อย่างเหมาะสม และเท่าเทียมกัน
4. การเป็นพลเมืองที่มีส่วนร่วมของสังคม
- การมุ่งเน้นการบริการสังคม (Service orientation) การคิด และทำสิ่งต่าง ๆ โดยมีความต้องการของสังคมและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอยู่ในใจเสมอ โดยมุ่งเน้นการศึกษา และทำความเข้าใจความต้องการต่าง ๆ แสดงถึงความมุ่งมั่นต้องการช่วยเหลือผู้อื่นอย่างแท้จริง พร้อมพัฒนาและ รักษาความสัมพันธ์ที่ดีอย่างยั่งยืน
- จิตสำนึกและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม (Environmental responsibility) การมีจิตสำนึก ตระหนักให้ความสำคัญ มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมีความมุ่งมั่นและทุ่มเทที่จะอนุรักษ์ และรักษาสิ่งแวดล้อม สังคม และชุมชนให้น่าอยู่ ตลอดจนเข้าไปมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน หรือร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสังคม และสิ่งแวดล้อมขององค์กรอย่างเต็มที่ เพื่อเกิดประโยชน์ต่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมโดยรวม
- การสร้างสรรค์เพื่อประโยชน์ของท้องถิ่น (Creating local benefits) ความสามารถในการคิดค้น ออกแบบ และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ที่แปลกและแตกต่างไปจากเดิม โดยการมุ่งเน้นพัฒนาและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ในระยะยาว และยั่งยืนให้แก่ประชาชน พื้นที่ หรือท้องถิ่นที่รับผิดชอบอย่างเป็นรูปธรรม
เรียกได้ว่า ทั้ง 3 พาร์ท เป็นการสอบที่เข้มข้นสุดๆ เนื่องจากมีเนื้อหาที่ค่อนข้างเยอะ แต่ยังดีที่ว่า เนื้อหาเหล่านี้ มักมาจากการใช้ชีวิตประจำวันของเรานั่นแหละ ต้องประยุกต์เอา ไม่ซับซ้อน ไม่ต้องเน้นท่องจำ หลายมหาวิทยาลัย ให้ความสำคัญกับคะแนน TGAT มาก ทำคะแนนให้ได้เยอะๆ นะน้อง ๆ แล้วจะได้เรียนคณะในฝันแน่นอน
ติดตามข่าวสารการศึกษา อัพเดทใหม่ ได้ที่ www.edugothailand.com ติดตามข่าวสารกิจกรรมเอ็ดดูโกได้ที่ facebook.com/edugothailand หรือสอบถามคำแนะนำด้านการเรียนต่อที่ Line @edugothailand